วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์โรงพยาบาลสงขลา เปิดโครงการ “ร่วมแรงต้านภัยบุหรี่ วันงดสูบบุหรี่โลก ปี 2555”

ข่าว สันติภาพ รามสูต สงขลา / เปิดโครงการ "ร่วมแรงต้านภัยบุหรี่ วันงดสูบบุหรี่โลก ปี 2555" เพื่อสร้างกระแสเตือนภัยอันตรายของบุหรี่ให้ประชาชนชาวสงขลาได้รับทราบทั่วกัน ตลอดจนร่วมกันแสดงเจตนารมณ์ต่อต้านการสูบบุหรี่ในที่สาธารณะและสถานที่ราชการ วันนี้ (31 พ.ค. 55) ที่ ลานอาคารผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลเมืองสงขลา อ.เมือง จ.สงขลา นายแพทย์ไพฑูรย์ พัฒนานิจนิรันดร รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์โรงพยาบาลสงขลา เป็นประธานเปิดโครงการ "ร่วมแรงต้านภัยบุหรี่ วันงดสูบบุหรี่โลก ปี 2555" ซึ่งจัอขึ้นโดยคณะกรรมการเครือข่ายสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ โรงพยาบาลสงขลา เนื่องจากองค์การอนามัยโลก ได้กำหนดวันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันงดสุบบุหรี่โลก ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้ทุกประเทศตระหนักถึงอันตรายและความสูญเสียทางด้าน สุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม ในปีนี้องค์การอนามัยโลก ได้กำหนดประเด็นการรณรงค์ไว้ว่า "Tobacco industry interference" หมายถึง การแทรกแซงโดยอุตสาหกรรมยาสูบ และคำขวัญของกระทรวงสาธารณสุขในปีนี้ คือ "จับตาเฝ้าระวัง ยับยั้งอุตสาหกรรมยาสูบ" คือ ให้ทุกภาคส่วนของสังคมเฝ้าระวังการแทรกแซงธุรกิจยาสูบ รู้ถึงผลกระทบในทางลบที่เกิดจากการไปร่วมกิจกรรมกับธุรกิจยาสูบ และเพื่อสร้างกระแสเตือนภัยอันตรายของบุหรี่ให้ประชาชนชาวสงขลาได้รับทราบทั่วกัน ตลอดจนร่วมกันแสดงเจตนารมณ์ต่อต้านการสูบบุหรี่ในที่สาธารณะและสถานที่ ราชการ จากรายงานการสำรวจของคณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติ พบว่าประเทศไทย มีผู้สูบบุหรี่ราว 12.5 ล้านคน อยู่ในภาคอีสานมากที่สุด ร้อยละ 33.6 หรือ 4.2 ล้านคน รองลงมาเป็นภาคกลาง ร้อยละ 23.2 หรือราว 2.9 ล้านคน ตามด้วยภาคเหนือ ร้อยละ 17.6 ล้านคน หรือ 2.2 ล้านคน ภาคใต้ ร้อยละ 16 หรือ 2 ล้านคน และในกทม. พบร้อยละ 8 หรือเท่ากับ 1 ล้านคน ผลจากการสูบบุหรี่ทำให้คนไทยเสียชีวิต จำนวน 48,244 คนต่อปี ซึ่งบุหรี่ทำให้คนไทยในจำนวนนี้ป่วยและตายด้วยโรคมะเร็งมากที่สุด ร้อยละ 37.4 ตามด้วยโรคทางเดินหาย ร้อยละ 29.9 โรคหัวใจและหลอดเลือด ร้อยละ 22.6 และโรคอื่นๆ ร้อยละ 9.9 นอกจากนี้ ยังพบว่ามีคนไทย 14,204 คน จากจำนวนผู้เสียชีวิต 48,244 คนต่อปีนั้น เสียชีวิตก่อนวัย 60 ปี แสดงให้เห็นว่า การสูบบุหรี่ทำให้คนไทยที่สูบอายุสั้นลงเฉลี่ย 12.1 ปี อย่างไรก็ตามผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่แต่รับควันบุหรี่มือสองก็มีความเสี่ยงป่วยด้วยโรคหัวใจ ร้อยละ 25-30 และเสี่ยงเป็นมะเร็งปอด ร้อยละ 20-30 ที่สำคัญ มีผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ระบุว่าไม่มีระดับที่ปลอดภัยในการได้รับควันบุหรี่มือสองแถมการสูดควันบุหรี่มือสองแม้ในระยะเวลาสั้นๆ ส่งผลให้เกล็ดเลือดเกาะตัวกันง่ายขึ้น ทำให้เลือดข้นขึ้น ทำลายผนังบุหลอดเลือด หัวใจเต้นแรงขึ้น เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวาย ก่อความระคายเคืองและทำลายเยื่อบุผนังทางเดินหายใจ ระบบทางเดินหายใจของคนสุขภาพดีเกิดปฏิกิริยาอักเสบ และทำให้คนเป็นโรคหอบหืดจับหืดบ่อยและรุนแรงยิ่งขึ้นดังนั้น เพื่อสร้างกระแสเตือนภัยอันตรายของบุหรี่ ให้ประชาชนชาวสงขลาได้รับทราบทั่วกัน ตลอดจนร่วมกันแสดงเจตนารมณ์ต่อต้านการสูบบุหรี่ในที่สาธารณะและสถานที่ ราชการ ผู้ที่เข้าร่วมรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ในวันนี้ประกอบด้วย คณะแพทย์พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสงขลา คณะครูและนักเรียนโรงเรียนศิริพงศ์วิทยา คณะอาจารย์และนักศึกษาจากโรงเรียนบริหารธุรกิจวิทยาคณะอาจารย์และนักศึกษา จากวิทยาลัยบรมราชชนนี สงขลา อาสาสาสมัครสาธารณสุข จากเทศบาลนครสงขลา เทศบาลเมืองเขารูปช้าง และเจ้าหน้าที่ศูนย์บริหารปฐมภูมิเครือข่าย โรงพยาบาลสงขลา รวมทั้งสิ้น 8 องค์กร จำนวน 250 คน นายแพทย์วรชัย จึงตระกูล รองผู้อำนวยการฝ่ายบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลสงขลา กล่าวว่ากิจกรรมในวันนี้ ประกอบด้วย การติดสติ๊กเกอร์เตือนภัยบุหรี่และห้ามสูบบุหรี่ ในรถโดยสารที่วิ่งผ่านหน้าโรงพยาบาลเมืองสงขลา หน้าร้านค้า ร้านอาหาร ในบริเวณตลาดทรัพย์สินพล่าซ่า สงขลา แจกเอกสาร และการเดินรณรงค์งดสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ บริเวณตลาดทรัพย์สินพล่าซ่า ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดนี้เป็นการร่วมกันระหว่าง ภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชน เพื่อยืนยันเจตนารมณ์ร่วมกันในการต่อต้านการสูบบุหรี่ในสาธารณะ

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...