วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สสส. ร่วม มอ. ลงนาม MOU พัฒนาศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชน และ ครอบครัว ในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 25 แห่ง

ข่าว สงขลา / สสส. ร่วม มอ. ลงนาม MOU พัฒนาศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชน และ ครอบครัว ในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 25 แห่ง

เมื่อวันที่(16ส.ค.55) นายสุจิตต์ ไตรพิทักษ์ กรรมการบริหารแผนคณะที่ 4 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. เป็นประธานในพิธีลงนามความร่วมมือ (MOU) โครงการพัฒนาศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชน และ ครอบครัว ร่วมกับทาง รศ.นพ.พุฒิศักดิ์ พุทธวิบูลย์ รองอธิการบดีฝ่ายทรัพย์สินและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้ง เทศบาล และ อบต. ในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ ประกอบด้วย สงขลา พัทลุง สตูล ตรัง และ นครศรีธรรมราช จำนวน 25 แห่ง โดยมี นายสมพร ใช้บางยาง อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ให้เกียรติเข้าร่วมในพิธี และบรรยายพิเศษในหัวข้อ ภาวะผู้นำ บทบาทผู้บริหารและข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชน และ ครอบครัว ทั้งนี้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชน และ ครอบครัว ทั้งมิติสุขภาวะกาย จิต สังคม และ ปัญญา โดยมีระยะเวลาในการดำเนินโครงการ 1 ปี เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2555-กรกฎาคม 2556 โดยโครงการดังกล่าวถูกจัดขึ้นเนื่องจากปัญหาและสถานการณ์เด็กและเยาวชนมีแนวโน้มที่น่าเป็นห่วงมากขึ้น เพราะ ผลการสำรวจพบว่า มีเด็กร้อยละ 61.8 เท่านั้น ที่อาศัยอยู่กับพ่อแม่ และเด็กส่วนที่เหลือต้องอยู่ไกลบ้าน ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางลบ เช่น ร้านเกม บ่อนการพนัน สถานบันเทิง และ ร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งแผนในการพัฒนาด้านเด็ก เยาวชน และ ครอบครัว ในแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ได้มีการวางแผน และดำเนินการอย่างจริง สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 25 แห่ง ที่เข้าร่วมโครงการ จะได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สสส. แห่งละ 125,000 บาท ซึ่งจะแบ่งจ่ายเป็นงวดๆตามระยะเวลาของโครงการที่นำเสนอ โดยมีเจ้าหน้าที่ทีมงานจากมมาวิทยาลัยสงขลานครินทร์คอยให้คำปรึกษาและแนะนำการเขียนแผนยุทธศาสตร์โครงการเพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชน และ ครอบครัว ให้มีความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ซึ่งหลังจากครบระยะเวลา 1 ปี ของโครงการ จะมีการประเมินผลเกี่ยวกับการแก้ปัญหาด้านเด็ก เยาวชน และ ครอบครัว ว่า ประสบผลสำเร็จมาน้อยเพียงใด และหากท้องถิ่นใดจะสานต่อโครงการก็สามารถติดต่อขอสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมจากทาง สสส. ได้โดยตรง เพื่อใช้ในการดำเนินการร่วมกับเงินงบประมาณอุดหนุนของท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...