วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO-IPEC) จัดประชุมภาคีระดับจังหวัดว่าด้วยการแก้ไขปัญหาแรงงานเด็ก จ.สงขลา

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO-IPEC) จัดประชุมภาคีระดับจังหวัดว่าด้วยการแก้ไขปัญหาแรงงานเด็ก จ.สงขลา

                วันนี้(3..55) เวลา 09.30 . ที่ โรงแรมบีพี สมิหลา บีช อ.เมือง จ.สงขลา นายสุรพล  พนัสอำพล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานเปิดการประชุมภาคีระดับจังหวัดว่าด้วยการ  แก้ไขปัญหาแรงงานเด็ก จ.สงขลา ซึ่งจัดโดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO-IPEC)          มีผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมจำนวนกว่า 50 คน

                นายสุรพล  พนัสอำพล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวว่า การจัดประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติงานช่วยเหลือแรงงานหญิงและเด็ก จ.สงขลา หน่วยงานเอกชน (สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย) และหน่วยงานภาคประชาสังคม เพื่อแก้ไขปัญหาแรงงานเด็กและส่งเสริมการทำงานที่ปลอดภัยสำหรับเยาวชน ซึ่งองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO-IPEC) ประเทศไทยเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ    ในการจัดประชุม โดยความร่วมมือกับองค์กรสมาชิกของเครือข่ายเพื่อเด็กแห่งชาติ (Thai-Cord)    ภายใต้การนำของสภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชนในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี(สอ.ดย.)

ด้าน นายตูอาโม  ปูติไอเนน ผู้จัดการโครงการองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO-IPEC) กล่าวว่า ทางโครงการฯได้ร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน กระทรวงการต่างประเทศ พร้อมทั้งองค์กรภาคประชาสังคมในการร่วมกันแก้ไขปัญหาแรงงานเด็ก การคุ้มครองเด็ก รวมถึงสถาพการทำงานที่ปลอดภัยโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารทะเล รวมถึงลักษณะของงานอันตรายเพื่อให้ทุกคนในสถานประกอบการเข้าใจตรงกันในการดำเนินการว่า     สิ่งใดสามารถกระทำได้หรือทำไม่ได้ ซึ่ง "งานอันตราย" หมายถึง งานซึ่งโดยลักษณะงานหรือโดยสภาพแวดล้อมในการทำงานมีแนวโน้มที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ความปลอดภัย หรือศีลธรรมของเด็ก อาทิ งานยก แบก หาม หรือเข็นของหนักที่มีอัตราน้ำหนักโดยเฉลี่ยสำหรับลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กหญิงเกินกว่า 20 กิโลกรัม และเด็กชายเกินกว่า 25 กิโลกรัม งานหลอม งานเชื่อมโลหะ งานที่เกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสีทุกชนิด งานที่ทำในเรือประมงทะเล งานบรรทุกหรือขนถ่ายสินค้าเรือเดินทะเล เว้นแต่งานทำความสะอาดเรือ งานผูกมัดหรือจัดเรียง ซึ่งนายจ้างอาจรับเด็กอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไปทำงานดังกล่าวได้ ฯลฯ

ซึ่งทางรัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาการทำงานของแรงงานเด็กในอุตสาหกรรมแปรรูปกุ้งและอาหารทะเลอย่างเร่งด่วน โดยให้ดำเนินการตามการปฏิบัติที่ดีต่อแรงงาน(Good Labour Practice : GLP) ซึ่งหากทุกสถานประกอบการดำเนินการได้ตาม GLP ก็จะสามารถสร้างความมั่นใจให้กับประเทศคู่ค้าได้ว่าประเทศไทยได้ปฏิบัติตามมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการใช้แรงงานเด็ก ย่อมส่งผลดีต่อการค้าระหว่างประเทศต่อไป

                                                                                                                                                             

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...