วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557

หมอเด็ก ม.อ. แนะหลัก “2ว 2น” ป้องกันเด็กติดเกมมือถือ และเข้าถึงแอพพลิเคชั่นที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อพัฒนาการทางสมอง

                 ข่าว สงขลา / หมอเด็ก ม.. แนะหลัก "2 2" ป้องกันเด็กติดเกมมือถือ และเข้าถึงแอพพลิเคชั่นที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อพัฒนาการทางสมอง นพ.เทอดพงศ์ ทองศรีราช กุมารแพทย์พัฒนาการ และพฤติกรรม หน่วยพัฒนาการเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เปิดเผยว่า จากประเด็นร้อนในสังคมที่ผู้ปกครองของเด็กหลายคนได้รับบิลเรียกเก็บค่าโทรศัพท์มือถือตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงหลักหลายแสนบาท ซึ่งเป็นผลมาจากการเล่นแอพพลิเคชั่นเกทสุดฮิตบนมือถือสมาร์ทโฟน อาทิ คุกกี้รัน และอื่นๆ โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์นั้น ตนในฐานะหมอพัฒนาการเด็ก มองว่า พ่อแม่ทุกๆครอบครัวไม่เฉพาะครอบครัวที่ตกเป็นข่าว น่าจะได้รับบทเรียนเรื่องเด็กกับเทคโนโลยีจากสิ่งที่เกิดขึ้น

                 โดยคำถามที่พบบ่อย คือ "ควร" หรือ "ไม่" ที่จะให้เด็กหรือลูกใช้มือถือ ซึ่งจริงๆ แล้วอยากที่จะตอบว่าไม่ควร เพราะ การเล่นกับพ่อแม่กับเพื่อนหรือคุยกันต่อหน้าย่อมดีกว่าเป็นสิ่งที่ดีกว่า และมือถือคงจะไม่สามารถเข้ามาแทนที่ หรือ ตอบสนองต่อพฤติกรรมในการกระตุ้นพัฒนาการทางด้านภาษา และด้านสังคมของเด็ก แต่ก็ต้องยอมรับว่าปัจจุบันมือถือสมาร์ทโฟนเหล่านี้ได้แทรกซึมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเด็กอย่างยากที่จะห้ามได้ โดยเฉพาะในเด็กวัยเรียน ซึ่งเด็กจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ และปรับใช้ให้เหมาะสมกับช่วงอายุที่แตกต่างกัน

                 นพ.เทอดพงศ์ เปิดเผยอีกว่า สำหรับแนวทางที่จะทำให้เด็กใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะโทรศัพท์มือได้อย่างเหมาะสม อยากแนะนำหลักการง่ายๆ ให้ผู้ปกครองนำไปปรับใช้กับบุตรหลาน คือ หลัก "22" โดย "2" ประกอบด้วย วัย และเวลา โดยเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี ไม่ควรให้เล่นหรือแม้กระทั่งเปิดมือถือให้ดูเลย ทั้งนี้มีการศึกษามากมายที่แสดงให้เห็นว่า การให้เด็กวัยน้อยกว่า 2 ปี ดูสื่ออิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ จะส่งผลกระทบด้านลบต่อเด็กที่สำคัญ คือ ทำให้เวลาที่จะได้เล่น หรือ มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นลดน้อยลง ส่งผลให้พัฒนาการด้านภาษาล่าช้า แต่พ่อแม่ที่ลูกอายุมากกว่า 2 ปี ก็ไม่สามารถนำเทคโนโลยีมาแทนปฏิสัมพันธ์โดยมนุษย์ได้ หากยังสามารถเล่นกับลูกได้เองก็ควรเล่นด้วยตนเอง หรือ พาเด็กไปเจอสิ่งแวดล้อมภายนอกก็จะดีกว่าผ่านทางมือถืออย่างเดียว รวมทั้งเด็กที่อายุมากกว่า 2 ปี ไปแล้วผู้ปกครองควรจำกัดเวลาการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดรวมไปถึงโทรทัศน์ไม่เกิน 2 ชั่วโมง ต่อวัน

                 ขณะที่ "2" ประกอบด้วย เนื้อหา และแนะนำ โดยผู้ปกครองควรเฝ้าระวัง และคัดกรองเกม หรือสื่อต่างๆ ที่ลูกดู หากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงเกมที่มีเนื้อหารุนแรง หรือ มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องเพศ ซึ่งหลังจากเลือกให้เหมาะสมแล้ว พ่อแม่ก็ไม่ควรให้ลูกเล่นเกมหรือดูสื่อต่างๆ เหล่านั้นโดยลำพัง ควรให้คำแนะนำระหว่างที่ลูกดู หรือ เล่นไปด้วย รวมทั้งอภิปรายถึงสิ่งที่เห็น หรือ ได้ดูกับลูก ได้พูดคุยกันถึงเรื่องประโยชน์ และโทษของเทคโนโลยี และสังคมออนไลน์ ทั้งนี้พ่อแม่มีความจำเป็นที่จะต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม หรือ เรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีต่างๆ เหล่านี้ไปพร้อมๆ กับลูกด้วย

                 นอกจากนั้นการตั้งค่าเพื่อจำกัดการเข้าถึงหรือซื้อสิ่งของต่างๆ ภายในแอพพลิเคชั่น และเกมต่างๆ ก็เป็นสิ่งที่ผู้ปกครองน่าที่จะเรียนรู้ เช่น Kids mode ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นในมือถือยี่ห้อหนึ่ง เมื่อดาวน์โหลดลงมา และติดตั้งในมือถือสมาร์ทโฟนแล้ว พ่อแม่ หรือ ผู้ปกครองจะสามารถกำหนด PIN ในการเข้า mode นี้ และสามารถเลือกแอพพลิเคชั่นที่จะให้เด็กเข้าถึงได้ โดยสามารถเลือกเฉพาแอพพลิเคชั่นที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ รวมทั้งสามารถกำหนดระยะเวลาในการใช้มือถือในแต่ละวันตามที่ได้ตกลงกับเด็กเอาไว้ อีกทั้งยังสามารถใช้ตรวจสอบการเข้าใช้งานของเด็กย้อนหลังได้ถึง 30 วัน อีกด้วย

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...