วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สถาบัน กศน.ภาคใต้ จับมือ 4 ภาคส่วนขับเคลื่อนสงขลาสู่อาเซียน

ข่าว สุธิดา พฤกษ์อุดม ภาพ โปรดปราน บุญธรรม / สถาบัน กศน.ภาคใต้ จับมือ 4 ภาคส่วนขับเคลื่อนสงขลาสู่อาเซียน

บ่ายวันนี้(29ส.ค.56)  ที่ ห้องประชุมสถาบัน กศน.ภาคใต้  ต.เขารูปช้าง  อ.เมือง จ.สงขลา นายอรัญ คงนวลใย  ผู้อำนวยการสถาบัน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคใต้  พร้อมด้วย นายสุภาคย์   อินทองคง   ประธานศูนย์ประสานงานองค์การเอกชนประจำจังหวัดสงขลา  ประสานงานโครงการขับเคลื่อนสงขลาสู่อาเซียน และนางสาวสุทธิชา  ลัทธิวรรณ  ผู้จัดการบริษัทสุทธินันท์ทัวร์ ร่วมแถลงข่าวการจัดกิจกรรมตามโครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสงขลา-อาเซียน  ภายใต้หลักสูตร อาเซียนศึกษา โดยการจัดอบรมทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติให้กับบุคลากรในสังกัด จำนวน 40 คน ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม- 2 กันยายน 2556 ณ เมืองเมดาน จังหวัดสุมาตรา  ประเทศอินโดนีเซีย โดยจัดให้มีการอบรมภาคทฤษฏี จำนวน 1 วันและภาคปฏิบัติ จำนวน 3 วัน  โดยการศึกษาดูงานและสร้างความสัมพันธ์กับประเทศสมาชิก ประชาคมอาเซียน

            นายสุภาคย์  อินทองคง กล่าวว่า กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมเรียนรู้  ต่อเนื่องขององค์กรภาคี  4 ภาคส่วนขับเคลื่อนสงขลาสู่อาเซียน ทั้งภาครัฐและราชการ ซึ่งได้เริ่มต้นมาตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน 2555 โดยการจัดประชุมใหญ่ เพื่อพิจารณาทุน  แนวทาง และประเด็นขับเคลื่อนร่วมกัน  ผลการสัมมนาเราได้ทุนของสงขลาที่ต้องร่วมกันพัฒนา คือ ทุนคน   สังคม-วัฒนธรรมและทุนธรรมชาติแวดล้อม  และให้มีกลไกกลางระดับจังหวัด  เป็นศูนย์ประสานกลไกเครือข่ายระดับตำบลทั่วทั้งจังหวัด  และในวันเดียวกัน ผู้ที่เข้าร่วมประชุมได้ร่วมกันประกาศเจตนารมณ์  เป็นสัญญาประชาคมร่วมกัน ทั้ง 4 ภาคส่วน  ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านหลักสูตร "อาเซียนศึกษา" ครั้งนี้ ก็เพื่อเป็นตามคำประกาศเจตนารมณ์ที่ได้ประกาศไว้

ด้าน นายอรัญ  คงนวลใย  กล่าวว่า สถาบัน กศน.ภาคใต้ เป็นองค์กรทางการศึกษา เป็นภาครัฐ มีหน้าที่ดูแลประชาชนพลเมืองทุกกลุ่มอายุและกลุ่มอาชีพ  ให้สู่กระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต  ภายใต้ สาระวิชาความรู้ที่ทุกคนควรมีโอกาส คือ วิชาชีพ   วิชาชีวิต วิชาชุมชนและวิชาชัยชนะและเดินตามแนวคิดและทิศทางที่กำหนดไว้ ใน พ.ร.บ. การศึกษาว่าด้วยการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ปี 2551

            การจัดกิจกรรมในงานพัสดุศักยภาพผู้นำ   หลักสูตรอาเซียนศึกษา  โดยร่วมมือกับภาครัฐ-เอกชน ประชาสังคม และวิชาการ  เกี่ยวกับการเรียนรู้เรื่องอาเซียน นั้น   สถาบันถือว่า เป็นบทบาทสำคัญที่ กศน.จะต้องทำอย่างต่อเนื่องและหลากหลายมิติเรียนรู้  เพื่อช่วยกันตอบโจทย์ ของอาเชียนในเบื้องต้น 3 โจทย์ คือ  ประชาชนอาเซียน คืออะไร...ใคร...รัฐสมาชิกสมาคมอาเซียน  แต่ละรัฐเป็นใคร มีหน้าตา รูปลักษณะอย่างไรบ้าง   และ ที่สำคัญที่สุด คือ  เราชาวสงขลา จะเตรียมต้อนรับ หรือจัดการตนเองกันอย่างไร    จึงจะสามารถเดินเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ทั้ง 3 เสาได้อย่างมั่นใจ  และภูมิใจ คือ  การเมือง- ความมั่นคง  เศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรม

ด้าน นางสาวสุทธิชา  ซึ่งอยู่ในภาคธุรกิจการท่องเที่ยวกล่าวคือ  รู้สึกดีใจ และภูมิใจ  ที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมเป็นภาคี 4 ภาค ส่วนขับเคลื่อนอาสาสู่อาเซียนในครั้งนี้  และครั้งที่ผ่านมาที่เราไปมาเลเซียกัน  ในนามของภาคธุรกิจเอกชน  เราตั้งใจว่าจะทำหน้าที่คือให้บริการให้มีคุณภาพดีที่สุด เพื่อขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาคนของเราให้มีโอกาสศึกษาเรียนรู้องค์รวมของสงขลา  และประเทศอาเซียนทั้ง 3 ทุน คือ  ทุนสังคม-วัฒนธรรม และธรรมชาติแวดล้อม  ทั้งนี้เพื่อให้เกิดผลที่ชาวอาเซียนภาคกลังคือ  การมีวิสัยทัศน์เดียว  อัตลักษณ์เดียว และเป็นประชาชนเดียวกันอย่างมั่นคงสืบไป  ในขณะที่คุณอดุลย์  มีตำ  หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายสังคมการศึกษาและวัฒนธรรม  สถานกงสุลอินโดนีเซียประจำประเทศไทย จังหวัดสงขลา กล่าวว่า ในชุมชนตัวแทนชาวอินโดนีเซีย 237 ล้านรู้สึกภาคภูมิใจ ที่ได้เห็นพี่น้องชาวสงขลาซึ่งทราบว่ามีจำนวนมากกว่า 1 ล้านคน ให้ความสนใจเรื่อง อาเซียน และศึกษาช่องทางประสานกันเองภายในจังหวัด ให้เกิดเป็นกลุ่ม เป็นองค์กรขึ้นมา  ทำหน้าที่เป็นองค์กรกลาง และยังขยายช่องทางให้ภาคประชาชนได้ลุกขึ้นมาร่วมกันขับเคลื่อนอาเซียนภายใต้แนวคิด "การเตรียมสงขลาสู่อาเซียน" ด้วยภาคประชาชน คือ กลุ่มคนส่วนใหญ่ของประชากรอาเซียน  600 กว่าล้านคน  แต่หลังขับเคลื่อนยังมีจำกัด  การที่จังหวัดสงขลามีองค์กรประสานงานภาคประชาชน  และลุกขึ้นมาประสานกันเอง และภาคส่วนอื่น ๆ มาร่วมกันขับเคลื่อนได้  นับว่าน่าชื่นชนและใช้เป็นกรณีต้นแบบให้กับจังหวัดอื่น และประเทศอื่นได้

                                                                                                                         

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...