วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) จัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อผลการศึกษาโครงการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาอย่างยั่งยืน

ข่าว สุวดี ศรีสมบูรณ์ ภาพ เกียรติศักดิ์ พันธุ์กา / สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) จัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อผลการศึกษาโครงการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาอย่างยั่งยืน

วันนี้(22..56) เวลา 09.00 . ที่ โรงแรมหาดใหญ่พาราไดซ์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา         นายพงศ์บุณย์  ปองทอง รองเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อผลการศึกษาโครงการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาอย่างยั่งยืน โดยมีนักวิชาการและประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมการประชุม จำนวนกว่า 100 คน

ดร.นวรัตน์  ไกรพานนท์ ผู้อำนวยการกองประสานการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) กล่าวว่า ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศของโลกที่เปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดฝนที่ผิดฤดูกาล เกิดพายุที่มีความรุนแรงและบ่อยขึ้น ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพ ความมั่นคงทางอาหาร สภาพเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่และทรัพย์สิน ดังนั้น ทางสำนักงานฯ ภายใต้การสนับสนุนของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ได้จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาขึ้น โดยมุ่งเน้นฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมซึ่งประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่ในช่วงที่ผ่านมาไม่ได้นำปัจจัยและตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมระบบโลก โดยเฉพะการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศที่มีแนวโน้มที่ชัดเจนและรุนแรงขึ้นมาพิจารณาอย่างจริงจัง ทางสำนักงานฯจึงได้เริ่มศึกษาและสำรวจพื้นที่ของความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ    การรวบรวมความรู้ที่สืบทอดตามประเพณีที่ชุมชนท้องถิ่นดำเนินอยู่ จึงได้จัดประชุมในครั้งนี้ขึ้น เพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อผลการศึกษาโครงการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาอย่างยั่งยืน รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการจัดทำร่างกรอบแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

สำหรับการประชุมในวันนี้ ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์นำเสนอประเด็นชีวกายภาพ ประกอบด้วย ผลการศึกษาและคาดการณ์สภาพอากาศ การศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อปัญหาอุทกภัย ทรัพยากรชายฝั่งทะเลและการกัดเซาะชายฝั่ง ผลการศึกษาด้านทรัพยากรดินบนที่สูงและดินถล่ม ผลการศึกษาด้านทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ ประเด็นมรดกโลกและเศรษฐกิจ ประกอบด้วย การเกษตรและทรัพยากรประมง คุณค่าพิเศษทางมรดกโลกทางวัฒนธรรม ผลการศึกษาด้านคุณค่าทางศิลปกรรมและมรดกทางวัฒนธรรม รวมทั้งประเด็นสังคมและการมีส่วนร่วม

 

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...